วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มารู้จัก 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ


ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

          ใน สภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภาย ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน


บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็น เมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

          อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่


กัมพูชา


2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

          อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

          อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่


ลาว


4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

          อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่


มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

          อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

          อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่


สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

          อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

          อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่


เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

          อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่


ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

          อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่



ประเทศอาเซียน


          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

          1.ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

          2.ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

               มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

               ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและ ช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

               ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
   
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)


ความร่วมมือ


          3.ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

ที่มา www.kapook.com

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Profile : ประวัติส่วนตัว



NAME               :   THUNYANIT    TONGNATE
                              COMPUTER  TEACHER

SUBJECT          :   การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

คำสั่ง                 :  ให้นักศึกษาตกแต่งรูปตัวเอง และโพสลงใน Facebook ห้อง โดยใช้คำสั่งที่ได้เรียนมาทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

logo เซ็นทรัล

คำสั่งการวนลูป

คำสั่งวนลูป ความหมายของลูป(loop)ลูป(loop)ในที่นี้มีความหมายว่า การวนซ้ำซึ่งการวนซ้ำในทางภาษาคอมพิวเตอร์ คือ การทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นซ้ำกันหลายๆครั้งดังแสดงในรูปที่ 7-1

รูปที่ 7-1 แสดงความหมายของลูปในทางความคิด
ในรูปที่ 7-1 จะเป็นลูปที่ไม่มีวันจบซึ่งในทางคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นข้อผิดพลาด ทางแก้ไขก็คือ การใช้เงือนไขเข้ามาช่วยในการกำหนดว่าจะให้วนลูปเท่าไร ซึ่งจะศึกษากันในหัวข้อต่อๆไป
รูปแบบของลูป
ในการตรวจสอบว่าจะให้ลูปนั้นจบการทำงานเมื่อไรนั้น จะมีรูปแบบของการตรวจสอบเงือนไขอยู่ 2 แบบ
1.Pretest Loop ลูปประเภทนี้จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเป็นจริง หรือเป็นเท็จถ้าเป็นจริงก็ให้เข้าไปทำคำสั่งหรือชุดคำส่งต่อไป และเมื่อทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเสร็จแล้วก็จะกลับมาทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกครั้ง แลดะจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ ก็จบการทำงานของลูป ซึ่งแสดงในรูปที่ 7-2 ก.
2.post-Test loop ลูปประเภทนี้จะทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งก่อน เมื่อเสร็จแล้วถึงจะมาตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ถ้าเป็นจริงก็จะกลับไปทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งเดิมอีกครั้งแลดะจะทำจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงในรูปที่ 7-2 ข.

รูปที่ 7-2 แสดงการทำงานของลูปแบบ Pretest และ Post-Test
ลูปทั้งสองแบบนั้นจะต่างกันตรงที่จำนวนการทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งนั้นจะไม่เท่ากัน คือเมื่อดูจากรูปที่ 7-2 จะเห็นได้ว่าลูปแบบ pretest นั้นโอกาสการทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่น้อยที่สุดจะเท่ากับ 0 คือ เมื่อทำการตรวจสอบเงื่อนไขครั้งแรกแล้วเป็นเท็จก็จะออกจากลูป แต่ลูปแบบ post-test นั้นโอกาสที่น้อยที่สุดจะเท่ากับ 0 คือ เมื่อเข้าจะทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งก่อน 1 ครั้งและเมื่อตรวจสอบเงื่อนไขครั้งแรกแล้วจะเป็นเท็จ ก็จะออกจากลูป
การกำหนดและปรับปรุง
ในการใช้ลูป จะมีการกระทำที่สำคัญอยู่ 2 อย่าง ที่จะขาดไม่ได้เลยซึ่งถ้าขาดไปจะทำให้ลูปนั้นไม่ทำงาน หรือลูปทำงานแบบไม่มีวันจบ
1.การกำหนดค่า ก่อนที่เริ่มใช้ลูปจะต้องมีการกำหนดค่าที่นะใช้เป็นตัวควบคุมลูปก่อนซึ่งตัวควบคุมนี้จะทำหน้าที่ในการตรวจอบว่าลูปนั้นได้ทำงานจนจบ ดังแสดงในรูปที่ 7-3
2.การปรับปรุง หลังจากที่ทำคำสั่งหรือชุดคำสั่งไปแล้วไม่มีการปับปรุงค่าของตัวควบคุมลูปก็จะทำให้ลูปนั้นกลายเป็นลูปไม่มีวันจบได้เพราะฉะนั้นจะต้องทำการปรับปรุงค่าของตัวควบคุมลูปทุกครั้งเพื่อจะได้นำค่าของตัวควบคุมไปตรวจสอบกับเงื่อนไขเพื่อจบการทำงานของลูป

รูปที่7-3 แสดงการกำหนดค่าและการปรับปรุง
 ตารางที่ 7-1 ความแตกต่างระหว่าง Pretest Loop และ Post – Test Loop

Pretest Loop
Post-Test loop
                                                  การกระทำ
การกำหนดค่า                                        1
จำนวนครั้งในการตรวจสอบ               n+1
จำนวนครั้งในการทำคำสั่ง                    n
จำนวนครั้งในการปรับปรุง                  n
จำนวนครั้งที่น้อยที่สุดในการวน         0
                                                 การกระทำ
การกำหนดค่า                                       1
จำนวนครั้งในการตรวจสอบ                n
จำนวนครั้งในการทำคำสั่ง                   n
จำนวนครั้งในการปรับปรุง                 n
จำนวนครั้งที่น้อยที่สุดในการวน         1
n คือ จำนวนของการวนซ้ำ
คำสั่งวนลูปในภาษา C
คำสั่งลูปในภาษา C นั้นจะมีอยู่ 3 คำสั่ง คือ คำสั่ง While คำสั่ง for และคำสั่ง do…while ซึ่งสองคำสั่งแรกเป็นลูปแบบ Pretest loop ส่วนคำสั่งสุดท้ายจะเป็นแบบ Post-test loop

รูปที่ 7-4 แสดงคำสั่งวนลูปในภาษา CWhile loop
คำสั่ง While จะใช้เงื่อนไขเป็นตัวควบคุมลูป ซึ่งลูป while นี้จะเป็นลูปแบบ pretest loop ซึ่งจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขก่อนที่จะเข้าไปทำคำสั่งในลูป ผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของ while ได้แสดงในรูปที่ 7-5

รูปที่ 7-5 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของคำสั่ง while
ชุดคำสั่งเบื้องต้นที่แสดงในรูปที่ 7-5 ข จะเห็นได้ว่าในตัวลูปที่มีคำสั่งได้เพียงคำสั่งเดียวซึ่งถ้าต้องการให้มีหลายคำสั่ง ก็สามารถทำได้โดยเขียนชุดคำสั่งแบบ compound statement
ดังแสดงในรูปที่ 7-6


รูปที่ 7-6 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งที่เขียนแบบ compound statement
โปรแกรมที่ 7-1 โปรแกรมแสดงตัวเลขที่เรียงจากตัวเลขที่รับเข้ามาจนถึงศูนย



#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main(void)
{
clrscr();
int num;
int lineCount;
printf("Enter an integer between 1 and 100:");
scanf("%d",&num);
if(num>100)
num=100;
lineCount= 0;
while(num>0)
{
if(lineCount<10)
lineCount++;
else
{
printf("\n");
lineCount=1;
}
printf("%4d",num--);
}
getch();
return 0;
}
getch();
ผลลัพธ์ที่ได้
Enter an integer between 1 and 100 : 15
15 14 13 12 11 10 9 8 7 6
5 4 3 2 1
For loop
คำสั่ง For นั้นจะเป็นลูปแบบ pretest loop ที่ใช้นิพจน์ 3 นิพจน์ นิพจน์แรกเป็นการกำหนดค่า นิพจน์ที่ 2 เป็นเงื่อนไขในการตรวจสอบตัวควบคุมลูป และส่วนที่ 3 เป็นการปรับปรุงค่าของตัวควบคุมลูป ดังรูปที่ 7-7 แสดงผังการทำงานของคำสั่ง for

รูปที่ 7-7 แสดงผังการทำงาน และชุดคำสั่ง for
จากรูปที่ 7-7 จะพบว่าในตัวของคำสั่ง for สามารถมีคำสั่งได้เพียงหนึ่งคำสั่งเท่านั้นจะต้องใช้ชุดคำสั่งแบบ compound statement เข้ามา ดังแสดงในรูปที่ 7-8 และจะพบอีกว่าคำสั่ง for นั่นมีการทำงานเหมือน while แต่คำสั่ง for นั้นจะรวมการกระทำทั้งสามอย่างไว้ในบรรทัดเดียวกันเลย ดังในรูปที่ 7-9 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างคำสั่ง for และ while

รูปที่ 7-8 การผังการทำงานและชุดคำสั่งที่เขียนแบบ compound statement

รูปที่ 7-9 แสดงการเปรียบเทียบระหว่างคำสั่ง while และคำสั่ง for
การเปรียบเทียบการเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง for และคำสั่ง while โดยโจทย์มีอยู่ว่าให้รับตัวเลขทางคีย์บอร์ด 20 ตัว แล้วนำตัวเลขทั้งหมาดมารวมกัน ซึ่งจากโปรแกรมข้างต้นด้านล่างจะเห็นได้ว่า คำสั่ง for จะช่วยให้ผู้ใช้ขึยนโปรแกรมได้สั้นลง

I = 1;
Sum = 0;
While(I<=20)
{
scanf(“%d”,&a);
Sum+=a;
I++;
}/*while*/
Sum= 0;
For (I = 1;I<=20;I++)
{
scanf(“%d”,&a);
Sum +=a;
}
โปรแกรมที่ 7-2 เป็นโปรแกรมที่พิมพ์เลขตั้งแต่เลขที่ 1 จนเท่ากับเลขที่รับเข้ามาทางคีย์บอร์ด
โปรแกรมที่ 7-2 โปรแกรมแสดงตัวเลขที่เรียงตัวเลขจากศูนย์ถึงตัวเลขที่รับเข้ามา

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main(void)
{
int i;
int limit;
clrscr();
printf("\nPlease enter the limit:");
scanf("%d",&limit);
for (i=1;i<=limit;i++)
printf("\t%d\n",i);
getch();
return 0;
}
ผลลัพธ์ที่ได้
Please enter the limit :3
1
+ 2
3
จากโปรแกรมที่ 7-2 ถ้าต้องการให้พิมพ์เฉพาะเลขคี่ก็สามารถทำได้ โดยการเปลี่ยนที่คำสั่ง for เป็นดังนี้
For(i=1;i<=limit;i+=2)
แต่ถ้าต้องการให้พิมพ์ตัวเลขเรียงจากตัวเลยที่ราบเข้ามาถอยหลังไปจนถึง 1 ก็สามารถทำได้ดังนี้
For(I = l; I <= lmit; I +=2)
แต่ถ้าต้องการให้พิมพ์ตัวเลขเรียงจากตัวเลขที่รับเข้ามาถอยหลังไปจนถึง 1 ก็สามารถทำได้ดังนี้
For (I = limit; I <= 1;I++)
ในโปรแกรมที่ 7-3 เป็นการใช้คำสั่ง for ซ้อนกัน ซึ่งการใช้คำสั่ง for ซ้อนกันจะช่วยให้ในการเขียนโปรแกรมบางอย่างได้ง่ายขึ้น
โปรแกรมที่ 7-3 การใช้คำสั่ง for ซ้อนกัน

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main(void)
{
clrscr();
int i;
int j;
for(i=1;i<=3;i++)
{
printf("row%d:",i);
for(j=1;j<=5;j++)
printf("%3d",j);
printf("\n");
}
getch();
return 0;
}
ผลลัพท์ที่ได้
Row 1: 1 2 3 4 5
Row 2: 1 2 3 4 5
Row 3: 1 2 3 4 5
Do…while loop
คำสั่ง do…while เป็นลูปแบบ Post-Test Loop ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าลูปแบบนี้จะมีคำสั่งก่อนทีจะไปทำการตรวจสอบตัวควบคุมลูป ซึ่งผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นได้แสดงในรูปที่ 7-10
ซึ่งในตัวของคำสั่ง do….while นั้นจะมีคำสั่งได้เพียงคำสั่งเดียว ซึ่งถ้าต้องการเขียนเป็นชุดคำสั่งจะต้องเขียนชุดคำสั่งแบบ Compound Statement ดังแสดงในรูปที่ 7-11

รูปที่ 7-10 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั่งเบื้องต้นของคำสั่ง do….while

รูปที่ 7-11 แสดงผังการทำงานและชุดคำสั้งที่เขียนแบบ Compound Statement
จากรูปจะเห็นได้วาคำสั่ง do…while นั้นจะมีการทำคำสั่งในลูปอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ถึงแม้จะตรวจสอบตัวควบคุมลูปแล้วเป็นเท็จก็ตาม คำสั่ง do…while นี้จะเหมาะสำหรับงานที่ต้องมีการทำคำสั่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
ในโปรแกรมที่ 7-4 เป็นการใช้คำสั่ง do…while ในการรับค่าตัวเลขแล้ว เมื่อต้องการจะหยุดให้กดปุ่ม Ctrl + Z จากนั้นนำตัวเลขทั้งหมาดมารวมกัน
โปรแกรมที่ 7-4 โปรแกรมบวกตัวเลข โดยใช้คำสั่ง do…while

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main (void)
{
int x;
int sum=10;
int testEOF;
clrscr();
printf("Enter your numbers:<EOF>to Stop.\n");
do
{
testEOF = scanf("%d",&x);
if (testEOF!=EOF)
sum+=x;
}
while(testEOF!=EOF);
printf("\nTotal:%d\n",sum);
getch();
return 0;s
ผลลัพธ์ที่ได้
         ครั้งที่ 1
Enter your numbers:<EOF>to stop.
10   15   20    25    ^d
Total:70
         ครั้งที่ 2
Enter your numbers:<EOF>to stop.
^d
Total:0
คำสั่งอื่นๆที่ใช้ในลูป
ในการวนลูปนั้น บางครั้งการทำงานของลูปอาจจะทำให้ตัวควบคุมนยั้น มี่มีค่าที่นำตรวจสอบเพื่อจบการทำงานได้ หรือเมื่อพบกรณีใดกรณีหนึ่งขึ้นมา ผู้ใช้ไม่ต้องการให้ทำคำสั่งต่อไปแลกะต้องการให้ข้ามคำสั่งนั้นไปเลย เพราะฉะนั้นภาษาC จึงมีคำสั่งที่ช่วยการทำงานในลักษณะนี้ขึ้นBreak
                คำสั่งนี้จะพบแล้วในบทที่ 6 ในคำสั่ง switch เป็นคำสั่งในการกระโดดออกจากชุดคำสี่ง switch และมันก็สามารถนำมาใฃช้สในคำสั่งวนลูปได้เหมือนกัน เพื่อให้กระโดดออกจากลูปในกรณีต่างได้ ซึ่งแสดงการทำงานในรูปที่ 7-12


รูปที่ 7-12 แสดงการทำงานของคำสั่ง Break ในคำสั่งวนลูป
จากรูปที่ 7-12 จะพบเมื่อเจอคำสั่ง break แล้ว การทำงานจะกระโดดออกจากลูป for ทันทีแล้วก็ไปทำคำสั่งของลูป while ต่อไปContinue
                คำสั่งนี้จะไม่ได้กระโดดออกจากลูปเลย แต่จะกระโดดคำสั่งอื่นๆในลูปไปทำการตรวจสอบตามนิพจน์เลย ดังรูปที่ 7-13 ได้แสดงการทำงานของคำสั่ง Continue ในคำสั่งลูปทั้ง 3 คำสั่ง
/imgs/clip_image026.jpg
รูปที่ 7-13 แสดงการทำงานของคำสั่ง Continue ในคำสั่งวนลูปทั้ง 3 คำสั่ง
โปรแกรมที่ 7-5 เป็นโปรแกรมที่แสดงการใช้คำสั่ง Continue ซึ่งเมื่อรับค่าเข้ามาจะใช้คำสั่ง continue เพื่อกระโดดข้ามคำสั่งที่เหลือไป แล้วจะกลับไปรับค่าตัวต่อไปเลย
โปรแกรมที่ 7-6 แสดงการใช้งานคำสั่ง Continue


#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main (void)
{
int count=0,n;
clrscr();
float sum;
while(scanf("%d",&n)!=EOF)
{                                 if(n!=0)
continue;
sum+=n;
count++;
}
getch();
return(sum/count);
}
ตัวอย่างการใช้คำสั่งวนลูป
โปรเกรมที่ 7-6เป็นโปรแกรมคำนวณหาเงินลงทุน ซึ่งค่าที่ต้องกำหนดให้คือ จำนวน เงินที่ลงทุน ดอกเบี้ย และจำนวนปีที่ต้องการ
โปรแกรมที่ 7-6 พิมพ์สามเหลี่ยมขวา

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main (void)
{
int lineCtrl;
int numCtrl;
int limit;
clrscr();                 printf("\nPlease enter a number between 1 and 9:");
scanf("%d",&limit);
  for (lineCtrl=1;lineCtrl<=limit;lineCtrl++)
{
for (numCtrl =1;numCtrl<=lineCtrl;numCtrl++)
printf("*",numCtrl);
printf("\n");
}
/*       for (lineCtrl=limit;lineCtrl>=1;lineCtrl--)
{
for (numCtrl =1;numCtrl<=lineCtrl;numCtrl++)
printf("%d",numCtrl);
printf("\n");
}    */
getch();
return 0;
}
ผลลัพธ์ที่ได้
nPlease enter a number between 1 and 9 :6
1
12
123
1234
12345
123456
โปรแกรมที่ 7-7เป็นโปรแกรมบวกเลขทุกหลักเข้าด้วยกัน โดยตัวเลขจะรับเข้ามาทางคีย์บอร์ด
โปรแกรมที่ 7-7 โปรแกรมบวกทุกตัวเลขทุกหลัก

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main(void)
{
int number;
int count=0;
int sum=0;
clrscr();
printf("\nEnter an integer:");
scanf("%d",&number);
printf("Your number is: %d\n\n",number);                 while(number!=0)
{
count++;
sum+=number%10;
number/=10;
}
printf("The number ofdigits is :%3d\n",count);
printf("The sum of the digits is: %3d\n",sum);
getch();
return 0;
}
ผลลัพธ์ที่ได้
Enter  an integer: 12345
Your number is:   12345
The number of digits is:    5
The sum of the digits is:  15
การทำงานของโปรแกรมนี้คือ รับตัวเลขเข้ามา แล้วทำการตรวจสอบโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตัวเลขไม่เท่ากับ 0 ให้ทำการบวกค่าในตัวแปร Count ขึ้น 1 จากนั้นให้ตัวแปร sum เท่ากับ sum +(number หารเอาเศษด้วย 10)ซึ่งบรรทัดนีเผลของการหารเอาเศษจะได้เลขหลักสุดท้ายออกมา บรรทัดต่อไปให้ number หารด้วย 10 ก็ตัดเลขตัวสุดท้ายที่บวกเป็นแล้วออกไปทำจนกว่า number จะเท่ากับ 02
โปรแกรมที่ 7-8 เป็นโปรแกรมที่ 7-7 แต่นำมาปรับปรุงโดยการใช้คำสั่ง do…while เข้ามาในการถามว่าจะทำงานอีกครั้งหรือไม่
โปรแกรมที่ 7-8 โปรแกรมบวกทุกตัวเลขทุกหลัก    

#include<stdio.h>
#include<conio.h>
int main(void)
{
int number;
int count=0;
int sum=0;
clrscr();
char checkExt;                 do
{
printf("\nEnter an integer:");
scanf("%d",&number);
printf("Your number is:%d\n\n",number);
                                while(number !=0)
{
count++;
sum +=number%10;
number/=10;
}
                printf("The number of digits is :%3d\n",count);
printf("The sum of the digits is :%3d\n",sum);
{
count++;
sum +=number%10;
number/10;
}
printf("\npress Enter for run Program again:%3d",count);
printf("Press q For Exit:\n%3d",sum);
scanf("%c",&checkExt);
while(checkExt!='q');
getch();
return 0;
}
ผลลัพธ์ที่ได้
Enter an integer: 12345
Your number is: 12345
         The number of digits is:   5
The sum of the digits is: 15
         Press Enter for run Program again,Press Any Key For Exit : a
         Enter an integer: 326
Your number is: 326
         The number of digits is:    3
The sum of the digits is:  11
         Press Enter for run Program again,Press Any Key For Exit:q